อำเภอเพ็ญยุคแรก
ประมาณปี พ.ศ.1600-1700 พระยาศรีสุทโธ ได้อพยพราษฎรหลบภัยจากการรุกรานของชาวข่า
และชาวขอม ซึ่งมีอำนาจในขณะนั้น มาสมทบกับ ขุนวรบุตร (เมืองหนองหาน) ขุนราชปากดี
(เมืองบางหนองคาย) และ พระยาคำสิงห์ (เมืองสกลนคร) มาตั้งเมืองขึ้นที่ลำนำสวย
พระยาศรีสุทโธ และพระนางจันทรา มีพระราชธิดาอยู่พระองค์หนึ่ง ทรงสิริโฉมงดงาม
พระนามว่า พระนางเพ็งหรือเพ็ญ เป็นที่หมายปองของเหล่าบรรดาเจ้าเมืองหนองหาน
เจ้าเมืองหนองบัวลำภู และ เจ้าเมืองบางหนองคาย ถึงขั้นส่งทูตมาสู่ขอ แย่งชิงตัว
สร้างความวิตกกังวลให้กับ พระยาศรีสุทโธ และพระนางเพ็ญ พระราชธิดา ด้วยเกรงว่า
จะทำให้เกิดการรบพุ่ง ล้มตายขึ้นได้ จึงขอเวลาสามเดือน จากเจ้าเมืองต่าง ๆ
เพื่อให้พระนางเพ็ญตัดสินใจ พระนางเพ็ญ คิดว่า หากตกลงเลือกเจ้าเมืองใด
เจ้าเมืองที่เหลือจะไม่ยอม สงครามย่อมเกิดขึ้น
จึงกราบทูลให้พระบิดาสร้างเจดีย์ภายในกลวง และพระนางเพ็ญตัดสินใจเข้าบำเพ็ญภาวนา
ภายในเจดีย์ โดยให้ช่างโบกปูนปิดทับ
เมื่อเจ้าเมืองทั้งสามทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระนางเพ็ญ จึงยกทัพกลับ
และเพื่อเป็นอนุสรณ์ ชาวเมืองจึงตั้งชื่อเมืองว่า “เมืองเพ็ญ
อำเภอเพ็ญ ปัจจุบัน
ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2450 โดยมี พระยาอนุชาติวุฒิคุณ
เป็นนายอำเภอคนแรก หลังจากนั้นต่อมา จึงได้มีการตั้งสถานีตำรวจภูธรขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2470 โดยมี หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเพ็ญ คนแรก คือ สิบตำรวจโทหมื่นเคย
ปราบทมิฬ ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถานีตำรวจ
และหัวหน้าสถานีตำรวจตลอดมา จนกระทั่งมาตั้งอยู่สถานที่ปัจจุบัน
เป็นอาคารไม้สองชั้นบริเวณถนนวุฒาธิคุณ เทศบาลตำบลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
มีหัวหน้าสถานีตำรวจ เป็นผู้กำกับการ คือ พันตำรวจเอกวุฒิศักดิ์ รองเมือง สถานีตำรวจภูธรเพ็ญ มีภารกิจหลักในการรักษาความสงบเรียบร้อย
เขตพื้นที่อำเภอเพ็ญทั้งหมด ประมาณ 908 ตารางกิโลเมตร
ทางตอนเหนือของจังหวัดอุดรธานี มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และ
อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ
อำเภอเมืองอุดรธานี และ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านดุง
จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
กิ่งอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย และ อำเภอบ้านผือ
จังหวัดอุดรธานี (สถานีตำรวจภูธรบ้านเทื่อม
อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี)
|